แผนภาพการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านเมืองลีง SP Model
1) ปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย
1) Policy : นโยบาย นโยบายและจุดเน้น ของรัฐบาล นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายและจุดเน้นของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
2) Management : การบริหารจัดการ กระบวนการบริหารการจัดการศึกษาที่ใช้ในการบริหารจัดการเพื่อให้การดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์
3) Man : บุคลากร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองนักเรียน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
4) Money : งบประมาณ งบประมาณตามโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในแต่ละปีงบประมาณ งบลงทุนและสิ่งก่อสร้าง งบประมาณอาหารกลางวัน งบประมาณการอุดหนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบล การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
5) Materials : วัสดุอุปกรณ์ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงเครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ใช้ในโรงเรียน
2) กระบวนการ (Process) ใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) เพื่อให้การบริหารจัดการศึกษาเป็นไปตามวัตถประสงค์และบรรลุวิสัยทัศน์ และรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) โดยให้บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ทิศทางการจัดการศึกษา ส่วนร่วมในการดำเนินการให้การสนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ใช้กระบวนการการวิจัยเชิงปฏิบัติการในการขับเคลื่อนการดำเนินการ 4 ขั้นตอน (PAOR) คือ
การวางแผน(P : Planning)
วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และความต้องการจำเป็นของสถานศึกษา (SWOT Analysis) ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
การปฏิบัติการ (A : Action)
การขับเคลื่อนกลยุทธ์ของสถานศึกษาตามที่กำหนดไว้
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Competencies , Learning Skill 21st Century)
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้และการวัดผลประเมินผลที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Develop Curiculum , Active Learning)
กลยุทธ์ที่ 3 ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นไทยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Morality Ethics , Sufficiency Economy)
กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา (Develop Teachers)
กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ (Efficient Management)
การสังเกต (O : Observation)
ดำเนินการควบคุม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง กำหนดหรือมอบหมายผู้รับผิดชอบตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการอย่างชัดเจน กำหนดวิธีการรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือที่เหมาะสม กำหนดปฏิทินการสังเกตติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน
การสะท้อน (R : Reflection)
นำข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบประเมินผลมาวิเคราะห์สรุปและหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขให้การดำเนินการพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3) ผลผลิต (Output)
ด้านนักเรียน ( Good Student ) นักเรียนมีสมรรถนะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ด้านครู ( Good Teacher ) ครูมีความรู้ความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ด้านสถานศึกษา (Good School) สถานศึกษามีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
4) ผลลัพธ์ (Outcome) Happiness School “เรียนดี มีความสุข”
โรงเรียนบ้านเมืองลีง เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพทั้งด้านนักเรียน ด้านบุคลากร มีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เป็นสถานที่ที่น่าอยู่ น่าเรียน นักเรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างดี ครูและบุคลากรมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนและการปฏิบัติงาน นักเรียนมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียน และพร้อมที่จะเรียนรู้กับครูอย่างมีความสุข